โชนัง (จังหวัดชิบะ)
โชนัง 長南町 | |
---|---|
วัดคาซาโมริจิในโชนัง | |
ที่ตั้งของโชนังในจังหวัดชิบะ (เน้นสีเหลือง) | |
พิกัด: 35°23′N 140°14′E / 35.383°N 140.233°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันโต |
จังหวัด | ชิบะ |
อำเภอ | โชเซ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 65.38 ตร.กม. (25.24 ตร.ไมล์) |
ประชากร (31 ธันวาคม 2020) | |
• ทั้งหมด | 7,743 คน |
• ความหนาแน่น | 120 คน/ตร.กม. (310 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
สัญลักษณ์ | |
• ต้นไม้ | ฮิโนกิ (สนไซเปรสญี่ปุ่น) |
• ดอกไม้ | ซากูระ, คำฝอย |
• สัตว์ปีก | นกกระจ้อยญี่ปุ่น |
โทรศัพท์ | 0475-46-2111 |
ที่อยู่ | 2110 Chōnan, Chōnan-machi, Chōsei-gun, Chiba-ken 297-0121 |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
โชนัง (ญี่ปุ่น: 長南町; โรมาจิ: Chōnan-machi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2020 เมืองนี้มีประชากรประมาณ 7,743 คน 3240 ครัวเรือน ความหนาแน่นประชากร 120 คนต่อตารางกิโลเมตร[1] และมีพื้นที่ทั้งหมด 65.38 ตารางกิโลเมตร (25.24 ตารางไมล์)
ภูมิศาสตร์
[แก้]โชนังตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นภูเขากลางคาบสมุทรโบโซ มีพื้นที่ราบค่อนข้างน้อย เมืองนี้ยังคงมีแหล่งเกษตรกรรมเช่นเดียวกับเทศบาลอื่น ๆ ในภูมิภาค มีสนามกอล์ฟหลายแห่งตั้งอยู่เป็นหย่อม ๆ ในพื้นที่ โชนังตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดชิบะ ห่างจากชิบะ เมืองหลวงของจังหวัดชิบะ ประมาณ 25 กิโลเมตร และห่างจากใจกลางโตเกียว 50 ถึง 60 กิโลเมตร
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]ภูมิอากาศ
[แก้]โชนังมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Köppen Cfa) โดยมีฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบายและมีหิมะตกเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในโชนังคือ 15.1 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1684 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 25.9 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 5.3 °C[2]
สถิติประชากร
[แก้]จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[3] จำนวนประชากรของโชนังได้ลดลงเรื่อย ๆ ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1950 | 15,908 | — |
1960 | 14,118 | −11.3% |
1970 | 11,906 | −15.7% |
1980 | 11,509 | −3.3% |
1990 | 11,482 | −0.2% |
2000 | 10,628 | −7.4% |
2010 | 9,074 | −14.6% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]โชนังเต็มไปด้วยแหล่งโบราณคดีจากยุคโจมง ยุคยาโยอิ และยุคโคฟุง ภายใต้การปฏิรูปริตสึเรียวในยุคนาระ พื้นที่ที่เป็นโชนังในปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นคาซูซะ มีการตั้งวัดในพุทธนิกายเท็นไดสองแห่งในช่วงเวลานี้ ได้แก่ วัดคาซาโมริจิ และวัดโชฟูกูจิ ในตอนท้ายของยุคเฮอัง พื้นที่นี้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้นำทหาร ไทระ โนะ ทาดัตสึเนะ และได้รับช่วงควบคุมพื้นที่ต่อโดยทายาทในยุคคามากูระ ในปี 1456 ตระกูลทาเกดะได้สร้างปราสาทโชนังขึ้น ต่อมาหลังจากการก่อตั้งรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ โชนันได้กลายเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าหลัก ที่เด่นที่สุดก็คือเกลือ โดยผ่านคาบสมุทรโบโซ[4] เมืองโชนันในปัจจุบันก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1955 จากการรวมเมืองโชนังเดิมกับหมู่บ้านข้างเคียง ได้แก่ นิชิมูระ ฮิงาชิมูระ และโทโยซากะ
การปกครอง
[แก้]โชนังมีการปกครองรูปแบบสภา–นายกเทศมนตรี โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาประเภทสภาเดี่ยวที่มีสมาชิกจำนวน 13 คน เมืองโชนัง รวมทั้งเทศบาลอื่นในอำเภอโชเซ ประกอบกันเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดชิบะจำนวน 1 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ เมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 11 ของจังหวัดชิบะในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
[แก้]ผลผลิตทางการเกษตรหลักของโชนังคือ ข้าว อีกทั้งเมืองนี้ยังมีการเพาะเห็ดชิตาเกะ และรากบัว นอกจากนี้ยังมีฟาร์มโคนมขนาดเล็กตั้งอยู่จำนวนหนึ่ง[5]
การศึกษา
[แก้]โชนังมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลเมือง ได้แก่ โรงเรียนประถม 1 แห่ง โรงเรียนมัธยมต้น 1 แห่ง และเมืองนี้ไม่มีโรงเรียนมัธยมปลาย
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]โชนังไม่มีรถไฟให้บริการ
ทางหลวง
[แก้]สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- วัดคาซาโมริจิ
- พื้นที่ธรรมชาติวัดป่าคาซาโมริ
- วัดโฮองจิ
- วัดโชเอ็นจิ
- วัดโชโตกูจิ
- วัดโชฟูกูจูจิ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Chōnan town official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-03. สืบค้นเมื่อ March 12, 2021.
- ↑ Chōnan climate data
- ↑ Chōnan population statistics
- ↑ "Chōnan-machi". Nihon Rekishi Chimei Taikei (日本歴史地名大系 “Compendium of Japanese Historical Place Names”) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Netto Adobansusha. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-02-01.
- ↑ "Chōnan-machi". Nihon Rekishi Chimei Taikei (日本歴史地名大系 “Compendium of Japanese Historical Place Names”) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Netto Adobansusha. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-02-01.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ เก็บถาวร 2021-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาญี่ปุ่น)